ชีววิทยาของเซลล์ (Cell biology)


เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เซลล์หลาย ๆ เซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อรวมกันเป็นอวัยวะ  สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีเพียงเซลล์เดียว บางชนิดมีหลายเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างแตกต่างกัน

ทฤษฎีเซลล์
  1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า (All living things are composed of cells (or cell products)
  2. เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้าง การทำหน้าที่และการจัดระเบียบพื้นฐานในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด (The cell is the smallest unit of life)
  3. ทุกเซลล์มาจากเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อน (Cells only arise from pre-existing cells)

โครงสร้างและองค์ประกอบของดีเอ็นเอ

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นกรดนิวคลีอิกที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (human) สัตว์ (animal) พืช (plant) เชื้อรา (fungi) แบคทีเรีย (bacteria) และไวรัส (virus) เป็นต้น ดีเอ็นเอเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ (parent) และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน (offspring) ข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบส 4 ชนิดในดีเอ็นเอ โดยลำดับของเบสที่แตกต่างกันที่บรรจุอยู่ในโมเลกุลดีเอ็นเอเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตในการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ตลอดจนควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

องค์ประกอบทางเคมีของดีเอ็นเอ
ดีเอ็นเอเป็นพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งแต่ละหน่วยย่อยนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ คือไนโตรจีนัสเบส น้ำตาลเพนโตส และหมู่ฟอสเฟต
เบส เป็นเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า “ไนโตรจีนัสเบส” (nitrogenous base) ซึ่งแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. พิวรีน (purines) ประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นวงแหวน 2 วง มี 2 ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) และกวานีน (guanine, G)
2. ไพริมิดีน (pyrimidine) ประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นวงแหวน 1 วง ได้แก่ ไซโทซีน (cytosine, C) ไทมีน (thymine, T) ยูราซิล (uracil, U) โดยเบส C และ T พบเฉพาะใน DNA ขณะที่เบส U และ T พบใน RNA

น้ำตาล เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) ที่ประกอบด้วยคาร์บอน 5 อะตอม มีสูตรโมเลกุล คือ C5H10O4 และมีโครงสร้างโมเลกุล ดังนี้


หมู่ฟอสเฟต (phosphate group) คือ PO43- ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของกรดฟอสโฟลิก (phosphoric acid) มีสูตรโมเลกุล คือ H3PO4 มีโครงสร้างโมเลกุล ดังนี้

ขั้นตอนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)

ขั้นตอนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) มีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
  1. การเริ่มต้นการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (Initiation of DNA Replication)
  2. การขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทด์สายใหม่ (Polymerlization of DNA Replication)
  3. การสิ้นสุดการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (Termination of DNA Replication)
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=cwRzplFt6A8

การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)

การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เรพลิเคชั่น (DNA replication, DNA duplication) คือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับทางชีววิทยาซึ่งเกิดขึ้นได้ในสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดเพื่อทำการจำลองดีเอ็นเอ(DNA)ของตนเองให้มีจำนวนเป็น 2 เท่าของดีเอ็นเอ (DNA)เดิมที่มีอยู่ หรือ เป็นการสร้างดีเอ็นเอ(DNA)ขึ้นมาอีกสายหนึ่ง

โดยที่กระบวนการนี้เกิดขึ้นภายในนิวเคลียส และเกิดขึ้นในช่วง S ของระยะอินเตอร์เฟส(interphase)ทำให้เห็นเส้นใยโครมาทิน(chromatin)ปรากฏเป็นเส้นคู่โดยแต่ละเส้นถูกเรียกว่าโครมาทิด (chromatid) ทั้ง 2 เส้นนี้จะติดกันตรงที่บริเวณเซนโทรเมียร์(Centromere) การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)จะสามารถพบได้ทั้งการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส(mitosis)และการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส(meiosis) การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)นี้เซลล์จะต้องใช้เอนไซม์ สารต่างๆ และพลังงานเป็นจำนวนมาก

เซลล์ของคนเรามีอัตราการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)ประมาณ 50 นิวคลีโอไทด์ต่อวินาที ในขณะที่พวกโปรคาริโอตจะมีอัตราการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)ที่เร็วกว่าประมาณ 10 เท่า หรือ 500 นิวคลีโอไทด์ต่อวินาที

การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)นี้จะเริ่มจากสายดีเอ็นเอ(DNA)เกลียวคู่จะถูกแยกออก แล้วทำการสร้างสายดีเอ็นเอ(DNA)ที่สามารถเข้าคู่กับสายของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอ(DNA)เกลียวคู่ทั้ง 2 สาย การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)นี้เป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) ในการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของนิวคลีโอไทด์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์(mutation)ได้

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=cwRzplFt6A8
อ่านต่อ > ขั้นตอนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)

---
ที่มา:
การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication). (2018). เทคโนโลยีชีวภาพ แหล่งรวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ. Retrieved 16 December 2018, from https://www.thaibiotech.info/what-is-dna-replication.php

โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA

องค์ประกอบทางเคมีของดีเอ็นเอ (Chemical Composition of DNA) ประกอบด้วย
  1. น้ำตาล 2-Deoxyribose.
  2. ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base)
  3. หมู่ฟอสเฟต (Phosphate Group
ที่มา: http://educationalgenechromosome.blogspot.com/...

โมเลกุลของ DNA ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่ น้ำตาล เบส และหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไทด์จะเรียงตัวต่อกันเป็นสายยาว เรียกว่า พอลินิวพลีโอไทด์ (Polynucleotide)โมเลกุล DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายเรียงตัวสลับทิศทางกันและมีส่วนของเบสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน
ที่มา: http://ib.bioninja.com.au/standard-level/...