อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ 3 อนุภาค ได้แก่ อิเล็กตรอน (electron), โปรตอน (proton) และนิวตรอน(neutron)
A แทน เลขมวล (Proton + Neutron)
Z แทน เลขอะตอม (Proton)
X แทน สัญลักษณ์ของธาตุ
ไอโซโทป (Isotope): อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกันไอโซโทน (Isotone): ธาตุต่างชนิดกันที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่มีจำนวนโปรตอนไม่เท่ากัน
ไอโซบาร์ (Isobar): ธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน
ไอโซอิเล็กทรอนิก (Isoelectronic): ธาตุหรือไออนของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน เช่น S2- กับ Ar มีอิเล็กตรอนเท่ากับ 18
ตัวอย่างโจทย์
Ex1. อะตอมหรือไอออนของธาตุคู่ใดเป็นไอโซอิเล็กทรอนิก (8O, 7N, 18Ar, 16S, 10Ne)
1. O2 และ N2 2. O+ และ Ar
3. S2– และ Ne 4. S2– และ Ar
Ex2. ธาตุ E กับธาตุ Y เป็นไอโซบาร์กัน ส่วนธาตุ E กันธาตุ Q เป็นไอโซโทนกัน และธาตุ Y ยังเป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุฟลูออรีนซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 9 ถ้าธาตุ E เกิดเป็นไอออนที่มีประจุ 2+ จะมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 8 เหมือนกับธาตุ Q ซึ่งธาตุ Q มีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 10 อนุภาค จงเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ E, Q และ Y
Ans
ธาตุ Y ยังเป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุฟลูออรีนซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 9 = 9Y
ถ้าธาตุ E เกิดเป็นไอออนที่มีประจุ 2+ จะมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 8 = 10E
ถ้าธาตุ E เกิดเป็นไอออนที่มีประจุ 2+ จะมีจำนวนอิเล็กตรอน
เท่ากับ 8 เหมือนกับธาตุ Q = 8Q
เท่ากับ 8 เหมือนกับธาตุ Q = 8Q
เลขมวลของธาตุ E (เลขมวล = P + N = 10+10) = 2010E
ธาตุ E กับธาตุ Y เป็นไอโซบาร์กัน = 209Y
ธาตุ E กันธาตุ Q เป็นไอโซโทน, ธาตุ Q มีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 10 อนุภาค = 188QEx3. ไอโชโทปของธาตุชนิดหนึ่งมีประจุในนิวเคลียสเป็น3เท่าของประจุในนิวเคลียสของไฮโดรเจนเเละมีมวลเป็น 7 เท่าของมวลไฮโดรเจน จงเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
Ans
มีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของประจุในนิวเคลียสของไฮโดรเจน (p = 3x1) = 3X
มีมวลเป็น 7 เท่าของมวลไฮโดรเจน (ไฮโดรเจนมีมวล = 1) ; 7 x 1 = 73X