โครงสร้างของเซลล์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ส่วนห่อหุ้ม หมายถึงโครงสร้างที่ห่อหุ้มไซโทพลาซึม และองค์ประกอบของเซลล์ ทำให้เซลล์ให้คงรูปร่างและแสดงขอบเขตของเซลล์ ประกอบไปด้วย
1.1. ผนังเซลล์: เป็นชั้นที่ล้อมเซลล์ซึ่งอยู่ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์ พบในพืช แบคทีเรีย และฟังใจ ไม่พบในเซลล์สัตว์และโพรติส
a. พืช – เซลลูโลส1.2. เยื่อหุ้มเซลล์: เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ถัดจากผนังเซลล์ ทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่านในการคัดกรองสารเข้าสู่เซลล์ โครงสร้างประกอบด้วย ไขมัน และโปรตีน
b. แบคทีเรีย – เปปทิโดไกลแคน
c. ฟังไจ – ไคติน
*** โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่ได้รับการยอมรับคือ Fluid mosaic model
2. นิวเคลียส (Nucleus): เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมและควบคุมการแสดงออกของเซลล์ ประกอบไปด้วย
2.2. นิวคลีโอลัส ทำหน้าที่สังเคราะห์ไรโบโซม และอาร์เอ็นเอ
2.3. นิวคลีโอพลาสซึม คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในเยื่อหุ้มนิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยสารโปรตีน ดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA)
3. ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm): เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทรพลาสซึมเป็นที่อยู่ของออร์แกเนล และเป็นบริเวณที่เกิดปฎิกริยาทางเคมีที่สำคัญในเซลล์
4. ออร์เนลล์ (Organelle): เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ทำหน้าที่เหมือนอวัยวะต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม และไม่มีเยื่อหุ้ม
4.1 ออร์แกเนล์ที่มีเยื่อหุ้ม แบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิดคือ
4.1.1 ออแกแนลที่มีเยื่อหุ้มสองชั้น ได้แก่
- ไมโตคอนเดรีย ทำหน้าที่สร้างพลังงาน (Krebs’ cycle, Electron Transport Chain)
- คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง
4.1.2 ออแกแนลที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว
- เอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัม (ER)
- ชนิดขรุขระ (Rough endoplasmic recticulum: RER): ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน
- ชนิดเรียบ (Smooth Endoplasmic Recticulum: SER) ทำหน้าที่สร้าไขมันและ เสตอรอยด์
- กอลจิแอพพาราตัส (Golgi apparatus) ทำหน้าที่รับโปรตีนจาก ER และปรับปรุงโรตีนเพื่อส่งออกไปยังเป้าหมาย โครงสร้างของกอลจิแอพพาราตัสมีลักษณะเป็นถุงแบน ด้านที่อยู่ใกล้กับ ER (cis face) จะรับถุงบรรจุโปรตีนที่ส่งมาจาก ER ด้านที่อยู่ห่างจาก ER ( trans face) จะทำการส่งถุงบรรจุโปรตีนไปยังจุดหมาย
- ไลโซโซม (Lysosome) มีลักษณะเป็นถุงบรรจุเอนไซม์ ทำหน้าที่ย่อยสลายโมเลกุลสารขนาดใหญ่ ทำลายสิ่งแปลกปลอม และรีไซเคิลออร์แกเนลที่หมดอายุ
- เพอโรซิโซม (Peroxisome) มีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุ oxidizing enzyme พบมากในเซลล์ตับ ทำหน้าที่ทำลายสารพิษ เช่นแอลกอฮอล์
- แวคิวโอล (Vacuole) มีลักษณะเป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มมีชื่อเรียกตามสารที่ถูกบรรจุและหน้าที่การทำงาน ดังนี้
- คอนแทร็กไทล์แวคิลโอล (Contractile vacuole) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในสิงมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบ้า พารามีเซียม
- ฟูดแวคิลโอล (Food vacuole) ทำหน้าที่บรรจุอาหารที่รับมาจากภายนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป
- แฟทแวคิวโอล (Fat vacuole) ทำหน้าที่สะสมหยดไขมัน
4.2 ออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม
- ไรโบโซม (Ribosome) ประกอบด้วยหน่วยย่อยสองหน่วย คือ หน่วยย่อยเล็ก (small subunit, S) และ หน่วยย่อยใหญ่ (large subunit, L) ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน
- สารโครงร่างของเซลล์ (Cytoskeleton) เป็นโครงสร้างของเส้นใยโปรตีน ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ โดยทำให้เซลล์ทนต่อแรงอัดจากภายนอกเส้นใยโปรตีนที่ประกอบเป็นสารโครงร่างเซลล์ มี 3 ชนิด คือ ไมโครทูบูล, ไมโครฟิลาเมนต์ และอินเตอร์มีเดียลฟิลาเมนต์
- ไมโครทูบูล มีลักษณะเป็นท่อกลวง
- ไมโครฟิลาเมนต์ มีลักษณะเป็นเส้นใยขนาดเล็ก ประกอบด้วยโปรตีนแอคติน
- อินเตอร์มีเดียลฟิลาเมนต์ มีลักษณะเป็นเส้นใยโปรตีนโดยจะมีขนาดใหญ่กว่าไมโครฟิลาเมนต์ แต่เล็กกว่าไมโครทูบูล
- เซนทริโอล เป็นออร์แกเนลล์ส่วนที่อยู่ใกล้นิวเคลียส ทำหน้าที่ช่วนในการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในขณะที่มีการแบ่งเซลล์
---
[1] The Cell Anatomy - Lessons - Tes Teach. (2018). Tes Teach with Blendspace. Retrieved 10 September 2018, from https://www.tes.com/lessons/DGqc1oPZiPmtEQ/the-cell-anatomy