ภาพที่ 1 |
แผนภาพวงจรและการวางอุปกรณ์(Circuit diagrams and component layouts)
วงจรจะแสดงการต่อที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การเขียนสายต่อทั้งหมดต้องลากด้วยเส้นตรง แต่การวางแบบอุปกรณ์ของจริงค่อนข้างจะแตกต่างจากวงจร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น ความลับก็คือให้เพ่งเล็งไปที่การต่อไม่ใช่มุ่งไปที่ตำแหน่งที่แท้จริงของอุปกรณ์วงจรมีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการรู้และทำความเข้าใจว่าโครงงานที่เราสร้าง-ประกอบทำงานอย่างไรหรือเมื่อต้องทดสอบการทำงาน ซึ่งนี่ก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไม่ในคำแนะนำหรือคู่มือ โครงงานจึงต้องมีวงจร รวมทั้งแบบสตริปบอร์ดหรือแบบปริ้นท์มาให้
ภาพที่ 2 |
การเขียนแผนภาพวงจร(Drawing circuit diagrams)
วิธีการเขียนวงจรไม่ได้ยากเลยแต่ต้องฝึกการขียนให้เรียบร้อยสะอาดตาจนชำนาญ การเขียนวงจรมีความจำเป็นและมีประโยชน์มากสำหรับวิทยาศาสตร์และอิเล็กทรอนิกส์ เพราะอย่างน้อยหากเราออกแบบวงจร ก็แน่นอนว่าต้องเขียนวงจรเองเพื่อให้เขียนวงจรได้ดีควรทำตามคำแนะนำดังนี้:
- ให้แน่ใจว่าเราใช้ สัญลักษณ์ ของอุปกรณ์แต่ละตัวถูกต้อง
- ใช้เส้นตรงเขียนเป็นเส้นต่อวงจร (ควรใช้ไม้บรรทัด)
- ใส่จุดกลม (.) ที่จุดต่อระหว่างสาย
- เขียนบอกค่ากำกับที่ตัวอุปกรณ์ เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ
- ขั้วบวก (+)ของแหล่งจ่ายไฟต้องไว้ข้างบน และขั้วลบ (-) อยู่ข้างล่าง ขั้วลบใส่ค่า 0V (ศูนย์โวลท์)
- พยายามจัดวงจรให้สัญญาณไหลจากซ้ายไปขวา ด้านเข้าและการควบคุมต้องอยู่ทางซ้าย ด้านออกอยู่ทางขวา
- อาจไม่จำเป็นต้องเขียนสัญลักษณ์ของแหล่งจ่ายไฟ แต่ต้องมีเส้นจ่ายไฟ(และอักษรกำกับ)ที่ด้านบนและล่าง
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วย(CAD)
สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์มืออาชีพ ปัจจุบันนิยมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนวงจรและออกแบบแผ่นปริ้นท์ โดยโปรแกรมที่ใช้กันมากในบ้านเราก็คือ PROTEL, ORCAD, EAGLE เป็นต้น ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำให้สามารถเขียนวงจรได้เรียบร้อยสะอาด เป็นมาตรฐาน เก็บเป็นไฟล์ พิมพ์เมื่อไหร่ แก้ไขเมื่อไหร่ก็ได้ และยังสามารถนำไฟล์วงจรไปออกแบบแผ่น ปริ้นท์แบบลากลายเส้นเองอัตโนมัติได้ด้วย แต่สำหรับมือใหม่ควรหัดเขียนด้วยมือก่อนการเขียนแผนภาพวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์
วงจรสำหรับอิเล็กทรอนิกส์จะเขียนด้านขั้วบวก(+) ของแหล่งจ่ายไฟไว้ข้างบนและด้านขั้วลบ(-)ไว้ข้างล่าง ซึ่งการเขียนแบบนี้จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของวงจรได้ง่าย เพราะว่า แรงดันจะลดลงเมื่อเรามองเลื่อนลงมาทางข้างล่างของวงจรวงจรสำหรับทางวิทยาศาสตร์นิยมเขียนแหล่งจ่ายไฟไว้ด้านบน ซึ่งก็ไม่ผิด แต่วิธีนี้จะไม่ช่วยเสริมความเข้าใจการทำงานของวงจร จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเขียนวงจรแบบนี้
---
ที่มา:
แผนภาพวงจร(Circuit Diagrams). (2018). Ice.co.th. Retrieved 14 December 2018, from http://www.ice.co.th/beginner/study/cdiags.htm
No comments:
Post a Comment