แผนภาพบล็อค (Block Diagrams)

แผนภาพบล็อคเรานิยมเรียกทับศัพท์ว่า บล็อคไดอะแกรม ซึ่งใช้สำหรับแสดงเพื่อให้เราเข้าใจ(การออกแบบ)วงจรสมบูรณ์ได้ง่าย  โดยการจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆหรือเป็นบล็อค  แต่ละบล็อคจะมีหน้าที่เฉพาะ มีการต่อแต่ละบล็อคเข้าด้วยกัน  ไม่มีการแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในบล็อค มีแต่ด้านเข้ากับด้านออกเท่านั้นที่ปรากฎ  การดูวงจรแบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงระบบทั้งหมดได้โดยง่าย 

แหล่งจ่ายกำลัง(หรือแบตเตอรี่)ปกติจะไม่แสดงการต่อในแผนภาพวงจร

ระบบเครื่องขยายเสียง(Audio Amplifier System)


** แหล่งจ่ายกำลัง(ไม่ได้แสดง)ต้องต่อเข้ากับทุกบล็อคด้วย
  • ไมโครโฟน(Microphone) -เป็นตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า(แรงดัน)
  • วงจรขยายภาคต้น(Pre-Amplifier) -ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง(แรงดัน)ระดับต่ำๆจากไมโครโฟนให้สูงขึ้น
  • วงจรควบคุมเสียง(Tone and Volume Controls) - สำหรับปรับควบคุมเสียง
    โทนคอนโทรลสำหรับปรับความถี่เสียงสูง(แหลม)และความถี่เสียงต่ำ(ทุ้ม)
    วอลุ่มสำหรับปรับเร่งลดระดับสัญญาณ(ความดัง)
  • วงจรภาคขยายกำลัง(Power Amplifier) -ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียงให้มีกำลังสูง
  • ลำโพง(Loudspeaker) -ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นเสียง

ระบบเครื่องรับวิทยุ(Radio Receiver System)


** แหล่งจ่ายกำลังไม่ได้แสดง
  • สายอากาศ(Aerial) - ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุจากสถานีต่างๆ
  • จูนเนอร์(Tuner) - เลือกสัญญาณวิทยุเพียงสถานีเดียว
  • ดีเทคเตอร์(Detector) - คั้นแยกสัญญาณเสียงจากคลื่นพาห์ที่มากับสัญญาณวิทยุ
  • วงจรขยายเสียง(Audio Amplifier) - ขยายสัญญาณเสียงให้มีกำลังสูง
  • ส่วนนี้อาจจะแบ่งบล็อคเพิ่มเหมือนกับระบบเครื่องขยายเสียงด้านบน
  • ลำโพง(Loudspeaker) - แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นเสียง

ระบบแหล่งจ่ายกำลังแบบคุมค่า(Regulated Power Supply System)

  • หม้อแปลง(Transformer) - ทำหน้าที่ลดแรงดันจากไฟบ้าน กระแสสลับ 220โวลท์  เป็นไฟกระแสสลับแรงดันต่ำ
  • วงจรเรียงกระแส(Rectifier) - แปลงไฟกระแสสสับเป็นไฟกระแสตรงแต่ไฟกระแสตรงที่ได้ยังไม่เรียบ มีความพริ้ว(ripple)สูง
  • วงจรกรอง(Smoothing) - กรองไฟกระแสตรงให้เรียบ ลดความพริ้วให้ต่ำ
  • วงจรคุมค่า(Regulator) - กำจัดความพริ้ว ควบคุมไฟออกกระแสตรงให้คงที่

ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ(Feedback Control System)


** แหล่งจ่ายกำลังไม่ได้แสดง
  • ตัวตรวจรู้(Sensor) - ตัวแปลงที่แปลงสภาวะของปริมาณที่ถูกควบคุมเป็นสัญญาณไฟฟ้า
  • ตัวเลือก(Selector) (ควบคุมด้านเข้า) - เลือกสภาวะที่ต้องการของด้านออก ปกติจะเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้
  • วงจรควบคุม(Control Circuit) - เปรียบเทียบสภาวะที่ต้องการ (จากการควบคุมด้านเข้า) กับสภาวะจริง (จากตัวตรวจรู้) ของปริมาณที่ถูกควบคุมและส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังตัวแปลงด้านออก 
  • ตัวแปลงด้านออก(Output Transducer) - แปลงสัญญาณไฟฟ้าเพื่อควบคุมปริมาณ
  • ปริมาณที่ถูกควบคุม(Controlled Quantity) - ปกติไม่ใช่ปริมาณไฟฟ้า เช่น ความเร็วมอเตอร์
  • วิถีป้อนกลับ(Feedback Path) - ปกติไม่ใช่ไฟฟ้า โดยตัวตรวจรู้จะตรวจจับสภาวะปริมาณที่ถูกควบคุม
ข้อมูลจาก:
แผนภาพบล็อค(Block Diagrams). (2018). Ice.co.th. Retrieved 14 December 2018, from http://www.ice.co.th/beginner/study/bdiags.htm#radio

No comments:

Post a Comment