ระบบนิเวศ (Ecosystem)

ระบบนิเวศ คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม (Environment) ของแหล่งที่อยู่ (Habitat) ตัวอย่างระบบนิเวศ เช่น ระบบนิเวศนํ้าจืด (Fresh water ecosystem) ระบบนิเวศทะเล (Ocean ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (Biosphere)

http://thitiwatwonghirundeha.blogspot.com/2013/09/blog-post_28.html
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับสิ่งมีชีวิต  ได้แก่
  1. แสง มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของพืช เช่น การเอนเข้าหาแสงของยอดอ่อนของพืช การออกดอก การสร้างอาหาร และมีความจําเป็นต่อสัตว์ เช่น การผสมพันธ์ของแมลง การออกหากินของสัตว์บางชนิด
  2. อุณหภูมิ มีอิทธิพลต่อกระบวนการสร้างอาหารของพืช การออกหากินของสัตว์
  3. แก๊ส มีความจําเป็นต่อการหายใจของพืชและสัตว์ การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และการสร้างอาหารของพืช
  4. แร่ธาตุ เช่น ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ฯลฯ พืชใช้ในการสังเคราะห์สารต่างๆ ในเซลล์พืช
  5. ความเป็นกรดเบส จะต้องเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และกิจกรรมต่าง ๆ
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน  
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันที่อาศัยอยู่ร่วมกัน (Interspecific Relationship) ในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์กันหลายแบบ กล่าวคือเมื่ออยู่ร่วมกันแล้วอาจมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียประโยชน์ ได้ประโยชน์ หรือไม่ได่ไม่เสียประโยชน์ก็ได้ ถ้ากําหนดความสัมพันธ์ด้วยเครื่องหมายดังนี้

+   หมายถึง ได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
-    หมายถึง เสียประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่ง0   หมายถึง ไม่มีการได้หรือเสียประโยชน์

จากการกําหนดความสัมพันธ์ด้วยเครื่องหมาย สามารถแบ้งความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันได้ดังนี้

1. ภาวะพึ่งพา (Mutualism) สัญลักษณ์ +, + เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยจะต้องอยู่ร่วมกันตลอดเวลา หากแยกจากกันจะไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้เช่น
  • ลเคนส์ (Lichens) เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างรากับสาหร่าย โดยราจะได้รับอาหารจากสาหร่าย ส่วนสาหร่ายได้รับความชื้นจากรา
https://www.lovethegarden.com/advice/pests-diseases/lichens
  • แบคทีเรีย Rhizobium sp. กับพืชตระกูลถั่ว แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่วจะทําหน้าที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของต้นถั่ว
  • โปรโตซัว Trichonympha sp. ในลําไส้ปลวก โปรโตซัวมีเอนไซม์สําหรับย่อยเซลลูโลสในลําไส้ปลวก อาหารที่ย่อยได้จะเป็นประโยชน์กับปลวกและโปรโตซัว
2. ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) สัญลักษณ์ +, + เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไม่จําเป็นต้องอยู่ร่วมกันตลอดเวลา ถ้าแยกกันอยู่ก็สามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติ เช่น

  • นกเอี้ยงกับควาย นกเอี้ยงจะกินปรสิตบนหลังควาย ทําให้ปรสิตของควายลดลง
  • แมลงกับดอกไม้ แมลงได้อาหารจากดอกไม้ ในขณะเดียวกันแมลงก็ช่วยผสมเกสรดอกไม้
https://sites.google.com/site/gpink411/...

3. ภาวะอิงอาศัย หรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism) สัญลักษณ์ +, 0 เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
  • กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่เป็นฝ่ายให้ที่อยู่อาศัยแก่กล้วยไม้ และกล้วยไม้ที่อาศัยอยู่นั้นก็ไม่ได้แย่งอาหารจากต้นไม้
  • นกทํารังบนต้นไม้ นกได้ประโยชน์จากต้นไม้ คือ ได้ที่อยู่อาศัย ส่วนต้นก็ไม้ไม่ได้หรือเสียประโยชน์แต่อย่างได

4. ภาวะล่าเหยื่อ (Predation) สัญลักษณ์ +, - เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ในลักษณะที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง สิ่งมีชีวิตที่จับสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้่า (Predator) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ตกเป็นอาหาร เรียกว่า เหยื่อ (Prey) เช่น โคกินหญ้า กบกินแมลง ไก่กินขาว เป็นต้น

5. ภาวะปรสิต (Parasitism) สัญลักษณ์ +, - เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากการเป็นผู้อาศัยหรือปรสิต (Parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์จากการเปนผูถูกอาศัย หรือโฮสต์(Host) ปรสิตอาจอาศัยภายนอก หรือภายในร่างกายของผู็ถูกอาศัยก็ได้ เราสามารถจําแนกประเภทของปรสิตตามแหลง
ที่อยู่ได้
2 พวก คือ

5.1 ปรสิตภายนอก (Ectoparasite) เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่บนร่างกายของโฮสต์ เช่น หมัด เหา เห็บ ไร
เป็นต้น

5.2 ปรสิตภายใน (Endoparasite) เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายของผู้ถูกอาศัย เช่น ภายในเซลล์
ในท่อทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อ ตับ ปอด ถุงนํ้าดี ตัวอย่างปรสิตภายใน ได้แก่ หนอนพยาธิชนิดต่างๆ

6. ภาวะแข่งขัน (Competition) สัญลักษณ์ -, - เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันก็ได้ที่มีความต้องการสิ่งเดียวกันแล้วเกิดการแก่งแย่งแข่งขันกัน ทําให้เสียประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เช่น การเจริญของผักบุ้งและผักกระเฉดในสระนํ้า การแข่งขันของสัตว์เพื่อครอบครองที่อยู่อาศัยหรือแย่งชิงอาหาร สุนัขจิ้งจอกแย่งกวางที่จับได้ เป็นต้น  

7. ภาวะการหลั่งสารต่อต้าน (Antibiosis) สัญลักษณ์ 0, - เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งไม่ได้หรือไม่เสียประโยชน์แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ โดยฝ่ายหนึ่งจะหลั่งสารไปยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เช่น สาหร่ายสีเขียวบางชนิดหลั่งสารยับยั้งการเจริญเติบโตของไดอะตอม เป็นต้น การยับยั้งการเจริญเติบโต
โดยไม่มีการหลั่งสาร ต้นไม้เล็กๆ ที่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่มักจะไม่เจริญเติบโต เพราะต้นไม้ใหญ่บังแสงแดดเอาไว้

8. ภาวะเป็นกลาง (Neutralism) สัญลักษณ์ 0, 0 เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในระหว่างที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น แมงมุมกับกระต่ายที่อาศัยอยู่ด้วยกันในทุ้งหญ้า ไส้เดือนดินกับตั๊กแตนที่อาศัยอยู่ในนาข้าว เป็นต้น  

No comments:

Post a Comment