http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/779741 |
ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในด้านต่างๆ เช่น ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมตัดต่อและถ่ายยีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมสามารถทำาได้ทั้งในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์
การเพิ่มจำานวนของ DNA ที่เหมือนๆ กันนั้นเรียกว่า การโคลนดีเอ็นเอและถ้า DNA บริเวณดังกล่าวเป็นยีนเรียกว่า การโคลนยีน การเพิ่มจำนวน DNA อาจทำได้โดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย และเทคนิคพอลิเมอเรสเชนรีแอกชันหรือ PCR
การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรียเพื่อสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ อาจทำาได้โดยใช้เอนไซม์ตัดจำาเพาะตัดสาย DNA ที่มียีนที่ต้องการและตัดพลาสมิดที่จุดตัดจำาเพาะ เมื่อตัดสาย DNA ต่างโมเลกุลกันด้วยเอนไซม์ตัดจำาเพาะชนิดเดียวกัน ปลายสาย DNA จะมีลำาดับเบสที่เข้าคู่กันได้ และเชื่อมต่อกันได้ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสทำาให้ได้เป็นดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ จากนั้นถ่ายดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านเพื่อเพิ่มจำานวน การเพิ่มจำานวน DNA ด้วยเทคนิค PCR สามารถเพิ่มปริมาณของ DNA บริเวณที่ต้องการจากดีเอ็นเอแม่แบบที่มีปริมาณน้อยผ่านกระบวนการจำาลองดีเอ็นเอซ้ำากันหลายๆ รอบในหลอดทดลอง
ผลิตภัณฑ์ DNA ที่ได้จาก PCR สามารถตรวจสอบผลการเพิ่มปริมาณ DNA และหาขนาดของโมเลกุล DNA ด้วยวิธีเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส ซึ่งเป็นเทคนิคการแยกโมเลกุล DNA ที่มีขนาดแตกต่างกันในสนามไฟฟ้าผ่านตัวกลางที่เป็นวุ้นแล้วเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุลดีเอ็นเอมาตรฐานที่ทราบขนาดและสามารถวิเคราะห์หาลำาดับนิวคลีโอไทด์ด้วยเครื่องหาลำาดับนิวคลีโอไทด์แบบอัตโนมัติ
เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ในการวินัจฉัยโรค และใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม การประยุกต์ในด้านการเกษตรในการสร้างพืชหรือสัตว์ที่มีสมบัติตามต้องการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ในด้านนิติวิทยาศาสตร์สามารถใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในการพิสูจน์ตัวบุคคลและหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอต้องคำานึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวจริยธรรม
---
ที่มา: คู่มือครู ชีววิทยา เล่ม 2. 2561. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 139