สรุปสาระสำคัญ บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอ (DNA Technology)

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/779741

ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในด้านต่างๆ เช่น ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมตัดต่อและถ่ายยีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมสามารถทำาได้ทั้งในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์

การเพิ่มจำานวนของ DNA ที่เหมือนๆ กันนั้นเรียกว่า การโคลนดีเอ็นเอและถ้า DNA บริเวณดังกล่าวเป็นยีนเรียกว่า การโคลนยีน การเพิ่มจำนวน DNA อาจทำได้โดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย และเทคนิคพอลิเมอเรสเชนรีแอกชันหรือ PCR


การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรียเพื่อสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ อาจทำาได้โดยใช้เอนไซม์ตัดจำาเพาะตัดสาย DNA ที่มียีนที่ต้องการและตัดพลาสมิดที่จุดตัดจำาเพาะ เมื่อตัดสาย DNA ต่างโมเลกุลกันด้วยเอนไซม์ตัดจำาเพาะชนิดเดียวกัน ปลายสาย DNA จะมีลำาดับเบสที่เข้าคู่กันได้ และเชื่อมต่อกันได้ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสทำาให้ได้เป็นดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ จากนั้นถ่ายดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านเพื่อเพิ่มจำานวน การเพิ่มจำานวน DNA ด้วยเทคนิค PCR สามารถเพิ่มปริมาณของ DNA บริเวณที่ต้องการจากดีเอ็นเอแม่แบบที่มีปริมาณน้อยผ่านกระบวนการจำาลองดีเอ็นเอซ้ำากันหลายๆ รอบในหลอดทดลอง


ผลิตภัณฑ์ DNA ที่ได้จาก PCR สามารถตรวจสอบผลการเพิ่มปริมาณ DNA และหาขนาดของโมเลกุล DNA ด้วยวิธีเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส ซึ่งเป็นเทคนิคการแยกโมเลกุล DNA ที่มีขนาดแตกต่างกันในสนามไฟฟ้าผ่านตัวกลางที่เป็นวุ้นแล้วเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุลดีเอ็นเอมาตรฐานที่ทราบขนาดและสามารถวิเคราะห์หาลำาดับนิวคลีโอไทด์ด้วยเครื่องหาลำาดับนิวคลีโอไทด์แบบอัตโนมัติ


เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ในการวินัจฉัยโรค และใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม การประยุกต์ในด้านการเกษตรในการสร้างพืชหรือสัตว์ที่มีสมบัติตามต้องการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ในด้านนิติวิทยาศาสตร์สามารถใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในการพิสูจน์ตัวบุคคลและหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอต้องคำานึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวจริยธรรม


---
ที่มา: คู่มือครู ชีววิทยา เล่ม 2. 2561.  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 139

แผนภาพวงจร(Circuit Diagrams)

แผนภาพวงจรเรานิยมเรียกกันสั้นๆว่า วงจร โดยวงจรจะแสดงให้เห็นว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อด้วยกันอย่างไร อุปกรณ์ แต่ละตัวจะถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ดังตัวอย่างภาพที่ 1

ภาพที่ 1

แผนภาพวงจรและการวางอุปกรณ์(Circuit diagrams and component layouts)

วงจรจะแสดงการต่อที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การเขียนสายต่อทั้งหมดต้องลากด้วยเส้นตรง แต่การวางแบบอุปกรณ์ของจริงค่อนข้างจะแตกต่างจากวงจร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น  ความลับก็คือให้เพ่งเล็งไปที่การต่อไม่ใช่มุ่งไปที่ตำแหน่งที่แท้จริงของอุปกรณ์

วงจรมีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการรู้และทำความเข้าใจว่าโครงงานที่เราสร้าง-ประกอบทำงานอย่างไรหรือเมื่อต้องทดสอบการทำงาน ซึ่งนี่ก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไม่ในคำแนะนำหรือคู่มือ โครงงานจึงต้องมีวงจร รวมทั้งแบบสตริปบอร์ดหรือแบบปริ้นท์มาให้

ภาพที่ 2

การเขียนแผนภาพวงจร(Drawing circuit diagrams)

วิธีการเขียนวงจรไม่ได้ยากเลยแต่ต้องฝึกการขียนให้เรียบร้อยสะอาดตาจนชำนาญ  การเขียนวงจรมีความจำเป็นและมีประโยชน์มากสำหรับวิทยาศาสตร์และอิเล็กทรอนิกส์  เพราะอย่างน้อยหากเราออกแบบวงจร ก็แน่นอนว่าต้องเขียนวงจรเอง
เพื่อให้เขียนวงจรได้ดีควรทำตามคำแนะนำดังนี้:
  • ให้แน่ใจว่าเราใช้ สัญลักษณ์ ของอุปกรณ์แต่ละตัวถูกต้อง
  • ใช้เส้นตรงเขียนเป็นเส้นต่อวงจร (ควรใช้ไม้บรรทัด)
  • ใส่จุดกลม (.) ที่จุดต่อระหว่างสาย
  • เขียนบอกค่ากำกับที่ตัวอุปกรณ์ เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ
  • ขั้วบวก (+)ของแหล่งจ่ายไฟต้องไว้ข้างบน และขั้วลบ (-) อยู่ข้างล่าง  ขั้วลบใส่ค่า 0V (ศูนย์โวลท์)
หากวงจรมีความซับซ้อนมาก:
  • พยายามจัดวงจรให้สัญญาณไหลจากซ้ายไปขวา ด้านเข้าและการควบคุมต้องอยู่ทางซ้าย ด้านออกอยู่ทางขวา
  • อาจไม่จำเป็นต้องเขียนสัญลักษณ์ของแหล่งจ่ายไฟ แต่ต้องมีเส้นจ่ายไฟ(และอักษรกำกับ)ที่ด้านบนและล่าง


การใช้คอมพิวเตอร์ช่วย(CAD)

สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์มืออาชีพ  ปัจจุบันนิยมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนวงจรและออกแบบแผ่นปริ้นท์ โดยโปรแกรมที่ใช้กันมากในบ้านเราก็คือ PROTEL, ORCAD, EAGLE เป็นต้น ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำให้สามารถเขียนวงจรได้เรียบร้อยสะอาด เป็นมาตรฐาน เก็บเป็นไฟล์  พิมพ์เมื่อไหร่ แก้ไขเมื่อไหร่ก็ได้  และยังสามารถนำไฟล์วงจรไปออกแบบแผ่น ปริ้นท์แบบลากลายเส้นเองอัตโนมัติได้ด้วย  แต่สำหรับมือใหม่ควรหัดเขียนด้วยมือก่อน

การเขียนแผนภาพวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์

วงจรสำหรับอิเล็กทรอนิกส์จะเขียนด้านขั้วบวก(+) ของแหล่งจ่ายไฟไว้ข้างบนและด้านขั้วลบ(-)ไว้ข้างล่าง ซึ่งการเขียนแบบนี้จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของวงจรได้ง่าย เพราะว่า แรงดันจะลดลงเมื่อเรามองเลื่อนลงมาทางข้างล่างของวงจร

วงจรสำหรับทางวิทยาศาสตร์นิยมเขียนแหล่งจ่ายไฟไว้ด้านบน ซึ่งก็ไม่ผิด แต่วิธีนี้จะไม่ช่วยเสริมความเข้าใจการทำงานของวงจร จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเขียนวงจรแบบนี้


---
ที่มา:
แผนภาพวงจร(Circuit Diagrams). (2018). Ice.co.th. Retrieved 14 December 2018, from http://www.ice.co.th/beginner/study/cdiags.htm

แผนภาพบล็อค (Block Diagrams)

แผนภาพบล็อคเรานิยมเรียกทับศัพท์ว่า บล็อคไดอะแกรม ซึ่งใช้สำหรับแสดงเพื่อให้เราเข้าใจ(การออกแบบ)วงจรสมบูรณ์ได้ง่าย  โดยการจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆหรือเป็นบล็อค  แต่ละบล็อคจะมีหน้าที่เฉพาะ มีการต่อแต่ละบล็อคเข้าด้วยกัน  ไม่มีการแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในบล็อค มีแต่ด้านเข้ากับด้านออกเท่านั้นที่ปรากฎ  การดูวงจรแบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงระบบทั้งหมดได้โดยง่าย 

แหล่งจ่ายกำลัง(หรือแบตเตอรี่)ปกติจะไม่แสดงการต่อในแผนภาพวงจร

ระบบเครื่องขยายเสียง(Audio Amplifier System)


** แหล่งจ่ายกำลัง(ไม่ได้แสดง)ต้องต่อเข้ากับทุกบล็อคด้วย
  • ไมโครโฟน(Microphone) -เป็นตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า(แรงดัน)
  • วงจรขยายภาคต้น(Pre-Amplifier) -ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง(แรงดัน)ระดับต่ำๆจากไมโครโฟนให้สูงขึ้น
  • วงจรควบคุมเสียง(Tone and Volume Controls) - สำหรับปรับควบคุมเสียง
    โทนคอนโทรลสำหรับปรับความถี่เสียงสูง(แหลม)และความถี่เสียงต่ำ(ทุ้ม)
    วอลุ่มสำหรับปรับเร่งลดระดับสัญญาณ(ความดัง)
  • วงจรภาคขยายกำลัง(Power Amplifier) -ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียงให้มีกำลังสูง
  • ลำโพง(Loudspeaker) -ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นเสียง

ระบบเครื่องรับวิทยุ(Radio Receiver System)


** แหล่งจ่ายกำลังไม่ได้แสดง
  • สายอากาศ(Aerial) - ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุจากสถานีต่างๆ
  • จูนเนอร์(Tuner) - เลือกสัญญาณวิทยุเพียงสถานีเดียว
  • ดีเทคเตอร์(Detector) - คั้นแยกสัญญาณเสียงจากคลื่นพาห์ที่มากับสัญญาณวิทยุ
  • วงจรขยายเสียง(Audio Amplifier) - ขยายสัญญาณเสียงให้มีกำลังสูง
  • ส่วนนี้อาจจะแบ่งบล็อคเพิ่มเหมือนกับระบบเครื่องขยายเสียงด้านบน
  • ลำโพง(Loudspeaker) - แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นเสียง

ระบบแหล่งจ่ายกำลังแบบคุมค่า(Regulated Power Supply System)

  • หม้อแปลง(Transformer) - ทำหน้าที่ลดแรงดันจากไฟบ้าน กระแสสลับ 220โวลท์  เป็นไฟกระแสสลับแรงดันต่ำ
  • วงจรเรียงกระแส(Rectifier) - แปลงไฟกระแสสสับเป็นไฟกระแสตรงแต่ไฟกระแสตรงที่ได้ยังไม่เรียบ มีความพริ้ว(ripple)สูง
  • วงจรกรอง(Smoothing) - กรองไฟกระแสตรงให้เรียบ ลดความพริ้วให้ต่ำ
  • วงจรคุมค่า(Regulator) - กำจัดความพริ้ว ควบคุมไฟออกกระแสตรงให้คงที่

ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ(Feedback Control System)


** แหล่งจ่ายกำลังไม่ได้แสดง
  • ตัวตรวจรู้(Sensor) - ตัวแปลงที่แปลงสภาวะของปริมาณที่ถูกควบคุมเป็นสัญญาณไฟฟ้า
  • ตัวเลือก(Selector) (ควบคุมด้านเข้า) - เลือกสภาวะที่ต้องการของด้านออก ปกติจะเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้
  • วงจรควบคุม(Control Circuit) - เปรียบเทียบสภาวะที่ต้องการ (จากการควบคุมด้านเข้า) กับสภาวะจริง (จากตัวตรวจรู้) ของปริมาณที่ถูกควบคุมและส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังตัวแปลงด้านออก 
  • ตัวแปลงด้านออก(Output Transducer) - แปลงสัญญาณไฟฟ้าเพื่อควบคุมปริมาณ
  • ปริมาณที่ถูกควบคุม(Controlled Quantity) - ปกติไม่ใช่ปริมาณไฟฟ้า เช่น ความเร็วมอเตอร์
  • วิถีป้อนกลับ(Feedback Path) - ปกติไม่ใช่ไฟฟ้า โดยตัวตรวจรู้จะตรวจจับสภาวะปริมาณที่ถูกควบคุม
ข้อมูลจาก:
แผนภาพบล็อค(Block Diagrams). (2018). Ice.co.th. Retrieved 14 December 2018, from http://www.ice.co.th/beginner/study/bdiags.htm#radio

ระบบนิเวศ (Ecosystem)

ระบบนิเวศ คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม (Environment) ของแหล่งที่อยู่ (Habitat) ตัวอย่างระบบนิเวศ เช่น ระบบนิเวศนํ้าจืด (Fresh water ecosystem) ระบบนิเวศทะเล (Ocean ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (Biosphere)

http://thitiwatwonghirundeha.blogspot.com/2013/09/blog-post_28.html

แบบนี้เรียกขาดทุนหรือปล่าว?

วันนี้ว่างนั่งเอาข้อมูลงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และคะแนนผลทดสอบทางการศึกษามาเปรียบเทียบเล่น ๆ เฉพาะในส่วนของ ม.ปลาย


จากกราฟจะเห็นได้ว่างบประมาณด้านการศึกษาของประเทศเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนถึงปัจจุบัน แต่ ...


ระดับคะแนนวิชาพื้นฐานเราแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย บางวิชาลดน้อยลงด้วยซ้ำ กราฟคะแนนไม่มีแนวโน้มของการพัฒนาเลย (หุหุหุ)

คราวนี้เรามาดูงบประมาณบ้างว่าเท่าใหร่

ปีการศึกษารวมงบประมาณการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
253585,66565,672
2536108,07083,656
2537121,97394,760
2538135,309103,513
2539167,560124,381
2540202,864146,650
2541201,708139,425
2542207,317140,724
2543220,621147,858
2544221,592150,926
2545222,990151,924
2546235,444162,998
2547251,194179,033
2548262,722184,405
2549295,623204,011
2550355,241245,489
2551364,634253,509
2552419,233281,571
2553379,125282,212
2554423,562311,529
2555444,484341,316
2556493,927368,163
2557518,519383,557
2558531,045387,887
2559549,708388,081
2560536,732376,124
2561523,569325,296
2562510,505348,681

เห้ยยยยย มันไม่น้อยเลย เพิ่มขึ้นมาตลอด แล้วหน่วยไม่ใช่บาทนะ หน่วยคือล้านบาท อย่างปีงบ 62 เนี๊ยะได้ไปเหนาะ ๆ ห้าแสนล้านบาท (OMG)

เมื่อเทียบงบประมาณกับผลคะแนนที่ได้นี่เราขาดทุนชิบหายเลยคับ 555

จะดูแค่ ม.6 ก็ดูจะไม่แฟร์กับ ศธ. มาดู ป.6 และ ม.3 กันบ้าง



*** ไม่มีข้อมูลของปี 2548

เป็นยังไงก็ลองพิจารณาเองก็แล้วกันครับ จะบอกว่าจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นก็ไม่น่าจะใช่ เพราะจากข้อมูลที่มี จำนวนนักเรียนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างเห็นได้ชัดนัก


ข้อมูลจาก: 
  1. http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=3490&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=21
  2. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx